ดูสินค้าในตะกร้า    แจ้งการชำระเงินออนไลน์   
  
  บทความ
คุณค่าทางอาหารและประโยชน์ของบุก
[8 มีนาคม 2557 17:01 น.]จำนวนผู้เข้าชม 20226 คน
บุกเป็นสมุนไพรเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
 
บุกเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณยิ่งกว่าไวอากร้า หรือเป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ โดยคุณนิล ปักษา (บ้านหนองพลวง ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์) แนะนำให้ลองพิสูจน์ ด้วยการเอาไม้พาดปากหม้อแล้วนำสมุนไพรบุกคางคก เอาพวงเมล็ดนำมาย่างไฟให้หอมก่อน แล้วใช้ผูกกับไม้ห้อยจุ่มลงไปในหม้อต้มใส่น้ำพอท่วมเมล็ดบุก ต้มจนเมล็ดบุกร่วงลงหม้อ ตัวยาก็จะไหลลงมาด้วย เมื่อเดือดแล้วก็ให้เติมน้ำตาลทรายแดงพอประมาณลงไปต้มให้พอหวาน หลังจากนั้นลองชิมดู ถ้ายังมีอาการคันคออยู่ก็ให้เติมน้ำตาลเพิ่มแล้วค่อยชิมใหม่ ถ้าไม่มีอาการคันคอก็แสลงว่าใช้ได้ และให้นำสมุนไพรโด่ไม่รู้ล้มใส่เข้าไปด้วยประมาณ 1 กำมือ แล้วต้มให้เดือด ปล่อยให้เย็นและเก็บไว้ในตู้เย็น ใช้ดื่ม 1 เป็ก ประมาณ 30 นาที จะปวดปัสสาวะโดยธรรมชาติ หลังจากอาวุธนั้นจะพร้อมสู้ทันที (ผล)

การใช้บุกเป็นอาหารลดความอ้วน
 
           1. บุกที่รับประทานได้มีเพียง 3 สายพันธุ์ โดยเฉพาะชนิดที่นำมาเป็นอาหารสำหรับลดความอ้วน คือ A. oncophyllus หรือบุกไข่ สาเหตุที่เรียกเป็นบุกไข่ คือ มีลักษณะพิเศษมีไข่อยู่ตามลำต้นที่สายพันธุ์อื่นของบุกไม่มี พบมากที่จังหวัดลำปาง พะเยา ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์

          2. สารสำคัญที่พบในบุกที่สามารถเป็นอาหารลดความอ้วน คือ “กลูโคแมนแนน” (glucomannan) เป็นสารโมเลกุลใหญ่ที่ประกอบด้วยน้ำตาล 2 ชนิด คือ ดี-กลูโคส (D-glucose) และ (D-mannose) เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในรูปของใยอาหาร เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอินโดจีน เช่น ไทย ลาว เขมร เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น

           3. ในประเทศญี่ปุ่นจะถือว่าการบริโภคบุกเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานปี เรียกว่า “Konjac” (คอนจัค) และรวมถึงประเทศอื่นๆ ในแถบยุโรปและอเมริกา เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตก ฯลฯ ในขณะที่ประเทศไทยเรียกพืชชนิดนี้ว่า “บุก” หรือ “กะบุก” และนิยม รับประทานในรูปของยาเม็ดก่อนอาหารจะทำให้กินอาหารได้น้อย เพราะมีคุณสมบัติของกลูโคแมนแนนที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการพองตัวในน้ำได้มาก

           4. การรับประทานบุก แต่เดิมคนไทยนิยมรับประทานบุกตรงส่วนของก้านใบ หรืออาจจะเรียกว่าต้นก็ได้ เพราะบุกก็เหมือนกับหัวมันคือ มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ส่วนที่โผล่ขึ้นมาเป็นก้านใบทั้งนั้น แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า “ต้น” สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เราจะใช้ส่วนหัวของบุกมาทำอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุกสายพันธุ์ “บุกไข่” รับประทานได้เท่านั้น เพราะบุกสายพันธุ์ อื่นไม่มีกลูโคแมนแนน ส่วนวิธีการรับประทานอาจจะแปรรูปได้หลายรูปแบบ มีทั้งลักษณะที่เป็นเส้นแทนเส้นก๋วยเตี๋ยว ทำเป็นชิ้นเป็นแผ่น และเป็นก้อนบรรจุขายสำเร็จรูป เวลารับประทานนำเอาไปล้างน้ำหลายๆ ครั้ง และนำมาทำเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ทำเป็นของหวาน เครื่องดื่มชนิดร้อน และเย็น ในด้านใยอาหารที่มีอยู่สามารถดูดน้ำได้มาก ทำให้น้ำหนักใยอาหารเพิ่มขึ้น มีประโยชน์ต่อสุขภาพทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวได้มากขึ้น แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะช่วยย่อยใยอาหาร ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซมีเทน และกรดไขมันที่มีโมเลกุล ขนาดสั้นมีผลทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวได้มากขึ้น อาหารผ่านไปสู่ทวารหนักได้เร็วขึ้นทำให้ไม่มีกากใย อาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ นอกจากนี้บุกยังช่วยในการชะลอสารพิษต่างๆ ในร่างกายได้รวมทั้งสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในอาหารมีโอกาสสัมผัสกับเยื่อบุลำไส้น้อยลง โอกาสที่สารพิษจะทำลายเยื่อบุลำไส้ก็น้อยลงด้วย ดังนั้นจึงมีความเชื่อกันว่าการกินใยอาหารมากอาจจะป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้

          5. จากการวิจัยพบว่า แมนโนสที่ผ่านกระบวนการย่อยในร่างกายจะถูกดูดซึมช้ากว่ากลูโคส ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นช้าจึงนิยมให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานรับประทานบุก นอกจากนี้ยังมีการนำหัวบุกไปทำเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับลดน้ำหนักอีกด้วย



ประโยชน์ของบุก
 
1. สำหรับในผู้ป่วยโรคเบาหวานบุกสามารถช่วยควบคุมหรือลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (เนื่องจากไปช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคสในระบบทางเดินอาหาร) และบุกยังเป็นอาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น เป็นอาหารที่ช่วยดูดสารพิษ ขจัดไขมันในเลือด และปรุงเป็นอาหารรักษาสุขภาพ
2. ในประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้หัวบุกมาทำเป็นอาหารลดความอ้วน เพราะการรับประทานหัวบุกเป็นประจำจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดน้ำหนัก และช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้ เพราะสารกลูโคแมนแนนที่พองตัวจะไปห่อหุ้มอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ไม่ให้สัมผัสกับน้ำย่อย จึงใช้ในการควบคุมน้ำหนักตัวได้ นอกจากนี้ยังช่วยดูดซับไขมันและกรดน้ำดี และขับถ่ายออกนอกร่างกาย จึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้
3. ช่วยในการขับถ่ายและระบาย เนื่องจากการพองตัวของกลูโคแมนแนนในทางเดินอาหาร จะไปกระตุ้นทางเดินอาหารส่วนล่าง โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ให้เกิดการบีบตัวขับกากอาหารที่คั่งค้างอยู่ออกมา จึงช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้
4. ช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคกระเพาะอาหารเป็นแผลจากกรดหรือน้ำย่อย
5. ปัจจุบันได้มีการนำหัวบุกหรือแป้งบุกมาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร (เช่น วุ้นเส้นบุก, เส้นหมี่แป้งหัวบุก, วุ้นบุกก้อน, ขนมบุก) เครื่องดื่มรูปแบบต่างๆ (เช่น เครื่องดื่มบุกผง) ใช้ในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน และลดไขมันในเลือดกันอย่างแพร่หลาย (เช่น ผงบุก หรือแคปซูลผงบุก) ซึ่งก็สามารถลดน้ำหนักได้ในระดับหนึ่ง มีความปลอดภัยต่อร่างกาย เพราะเมื่อกินแล้วทำให้อิ่มง่าย ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น ช่วยระบายท้อง และไม่ทำให้อ้วน
6. มีข้อมูลว่าในต่างประเทศนั้นได้ใช้ต้นบุกเป็นอาหารสัตว์สำหรับการเลี้ยงหมูมานานแล้ว
7. กากจากหัวบุกอาจนำมาใช้ผสมดินทำเป็นแนวกันพังในพื้นที่เชิงเขาได้
8. นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามีการใช้น้ำจากหัวบุกต้มผสมกับยางน่อง สำหรับไว้ใช้ยิงสัตว์ด้วย
9. นอกจากประโยชน์ตามที่กล่าวมาแล้ว ต้นบุกยังใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสวยงามได้ด้วย โดยนักจัดสวนจะนิยมนำมาปลูกประดับตามใต้ร่มเงาของไม้ยืนต้น ปลูกใส่กระถางเป็นไม้ประดับทั่วไป หรือปลูกไว้ขาบเพื่อเพิ่มรายได้สำหรับเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุกชนิดที่มีหัวเล็กใบกว้าง ที่มีชื่อว่า “บุกเงินบุกทอง” ซึ่งเป็นที่นิยมของนักเล่นว่านมีทั้งต้นเขียวและต้นแดง และมีราสูงอยู่พอสมควร

References
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “บุก”.  หน้า 429-430.
หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด.  (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก).  “บุก”  หน้า 114.
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “บุกคางคก (Buk Kang Kok)”.  หน้า 165.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ).  “บุก”.  หน้า 106.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “บุกคางคก Stanley’s water-tub”.  หน้า 48.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “บุก”.  หน้า 310.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “บุกคางคก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.  [01 ส.ค. 2014].
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “บุก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com.  [01 ส.ค. 2014].
กรีนไฮเปอร์มาร์ท สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  “บุก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.sc.mahidol.ac.th/wiki/.  [01 ส.ค. 2014].
ดร. พงศ์เทพ อันตะริกานนท์.
งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด, สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง.  “เชื่อไหมว่าบุกมีสารช่วยควบคุมน้ำหนักได้”.  อ้างอิงใน: หนังสือสมุนไพรน่ารู้ (รศ.ดร.วันดี กฤษณพันธ์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.lib.ru.ac.th.  [01 ส.ค. 2014].
จำรัส เซ็นนิล.  “บุก…ไวอาก้าเมืองไทย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net.  [01 ส.ค. 2014].


 
สวนบุกของเรา
 
 

 
                

                    

                  

               




 
 
 
 

 
 





   
 







 
บทความ
- บริการขายส่งสมุนไพรไทยหลายชนิด [8 มีนาคม 2557 17:01 น.]
- คุณค่าทางอาหารและประโยชน์ของบุก [8 มีนาคม 2557 17:01 น.]
- สารสกัดจากผลส้มแขก กับการลดน้ำหนัก [8 มีนาคม 2557 17:01 น.]
- ชี้แจงเรื่องเครื่องหมายการค้า (อ.ย.) [8 มีนาคม 2557 17:01 น.]
ดูทั้งหมด

Copyright by myherbspapak.com
Engine by MAKEWEBEASY